บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2562


ความรู้ที่ได้รับ

         ความหมายการนิเทศ
    Eye and Netzer; 1965 กล่าวว่า การนิเทศการศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารโรงเรียน ซึ่งผู้บริหารจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการให้บริการทางการศึกษา เพื่อให้กระบวนการสอนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามความคาดหมาย

         จุดมุ่งหมายของการนิเทศ
    1.ช่วยสร้างคุณลักษณะแห่งความเป็นผู้นำให้แก่ครู
    2.ช่วยส่งเสริมขวัญของครูให้อยู่ในสภาพที่ดีและเข้มแข็ง รวมหมู่คณะได้
    3.ช่วยให้ครูพัฒนาการสอนของตน
    4.ช่วยฝึกครูใหม่ให้เข้าใจงานของโรงเรียนและงานของอาชีพครู
    5.ช่วยหยิยกปัญหาต่างๆของโรงเรียนที่ทางโรงเรียนไม่สามารถแก้ไขได้โดยลำพัง
    6.ช่วยประชาสัมพันธ์ถึงความเคลื่อนไหวของการศึกษา


          เนื้อหาสาระในการนิเทศ


กัลยาณมิตร ๗ ประการในการนิเทศ 
       1. ปิโย - น่ารัก สบายใจ สนิทสนม ชวนให้อยากปรึกษา
       2. ครุ - น่าเคารพ ประพฤติสมควรแก่ฐานะ อบอุ่น เป็นที่พึ่งปลอดภัย        
       3. ภาวนีโย - น่ายกย่อง / ทรงคุณความรู้ /ภูมิปัญญาแท้จริง และหมั่นปรับปรุงตนอยู่เสมอ    
       4. อตตา จ - รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าควรพูดอะไร อย่างไร เป็นที่ปรึกษาที่ดี         
       5. วจนก ขโม - อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา / คำถามคำวิพากษ์วิจารณ์         
       6. คมภีรญจ กถ กตตา - แถลงเรื่องลึกล้ำได้ อธิบายเรื่องที่ยากให้ง่ายได้        
       7. โน จฏฐาเน นิโยชเน - ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล แนะไปในทางเสื่อม

องค์ประกอบของกัลยาณมิตร
          - ให้ใจ          

          - ร่วมใจ             
          - ตั้งใจ
          - เปิดใจ

กระบวนการกัลยาณมิตร
          1.ไม่มุ่งเน้นปริมาณ
          2.สานพลังอาสา
          3.เสวนาร่วมกัน
          4.สร้างสรรค์ความเป็นมิตร
          5.ฝึกคิดมุ่งมั่น
          6.ทุกวันปฏิบัติ
          7.จัดทำบันทึกแนวทาง

ปัจจัยเกื้อหนุน ๔ ประการ
         1. องค์ความรู้          
         2. แรงหนุนจากต้นสังกัด         
         3. ผู้บริหารทุกระดับ        
         4. บุคลากรทั้งสถานศึกษา

          บทบาทของผู้บริหารในการนิเทศ
➹ กระบวนกัลยาณมิตร เป็นการปฏิบัติจริงในสภาพที่เป็นจริง ผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศต้องมีการปรึกษาหารือ ติดต่อสื่อสาร เยี่ยมเยียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยแก้ปัญหาและให้กำลังใจกัน
➹ ถ้าจะเปรียบผู้นิเทศก็เป็นเหมือนครูฝึก (coach ) ของผู้สอน ที่จะต้องโดดลงไปร่วมคิดร่วมทำ มิใช่เพียงร้องบอกให้ผู้สอนลองผิด ลองถูก ตามยถากรรม อาจต้องบอกวิธีให้รู้ สาธิตให้ดุ และช่วยแก้ไขข้อบกพร่องที่พบ
➹ การพบปะสนทนาเมื่อเวลานิเทศ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ กรรมการศึกษา ชุมชนรอบๆสถานศึกษา จะได้ทราบทุกข์ สุข และก่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหาพื้นฐาน เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายในการทำงานต่อไป 

          แนวทางการนิเทศ
1. สร้างความสัมพันธ์ แจ้งภารกิจและความมุ่งหมาย จัดเวลา กำหนดวิธีการทำงาน 
2. จัดนิทรรศการทางวิชาการและสาธิตรูปแบบการสอน     
3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จัดบริการเอกสารทางวิชาการ     
4. วางแผนร่วมกัน เพื่อศึกษาดูงาน    
5. แนะให้ปฏิบัติตามสภาพจริง    
6. พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผลการปฏิบัติ และหาทางแก้ไขปรับปรุง 
7. เข้าร่วมประชุม สัมมนา การฝึกอบรมตามโอกาส 
8. นำเสนอผลงานในการประชุมปฏิบัติการ     
9. วัดและประเมินผลงานกัลยาณมิตรนิทศ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

    ทำให้ทราบถึงความหมายและองค์ประกอบของการนิเทศลักษณะต่างๆ

ประเมินผล

ตนเอง : เข้าเรียนตรงตามเวลา มีพูดคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย
เพื่อน : พูดคุยกันบ้าง
อาจารย์ : อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ

                     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น