บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562

ความรู้ที่ได้รับ

    โครงสร้างขององค์กรและการจัดระบบบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 

การบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
    การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีลักษณะการบริหารเฉพาะตัว โดยที่ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
  1. นโยบาย และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล
  2. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
  3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  4. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
  5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. ปรัชญา นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
  7. ความต้องการของชุมชน
1.การจัดแบ่งตามโครงสร้างการบริหารตามขนาด แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ
1) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดเล็ก


 2) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดกลาง


 3) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดใหญ่


2. การแบ่งตามรูปแบบตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ
     1) รูปแบบในระบบโรงเรียน
2) รูปแบบนอกระบบโรงเรียน
3) รูปแบบตามอัธยาศัย

3. รูปแบบการให้บริการแบบใหม่
คือ การรวมเด็กที่ผิดปกติและเด็กปกติไว้ด้วยกัน โดยเรียกแบบนี้ว่า “Normalization”

หลักในการบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
1. การบริหารงานวิชาการ
เป็นการบริหารกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการสอนผู้เรียนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพที่สุด

2. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาปฐมวัย
คือ การปฏิบัติการใช้คนให้ทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีขบวนการต่าง ๆ

3. การบริหารงานธุรการและการเงินในสถานศึกษาปฐมวัย
- งานธุรการในสถานศึกษา
- งานการเงินในสถานศึกษาปฐมวัย
- งานสารบรรณในสถานศึกษาปฐมวัย
- งานทะเบียนและรายงาน
- งานรักษาความปลอดภัย
- งานการเงินและพัสดุ
- งานพัสดุ

4. การบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษาปฐมวัย 
คือ การดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมในโรงเรียนโดยนักเรียนสมัครใจร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง

5. การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
           - การบริหารสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
           - การบริหารสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมและประสบการณ์

การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุคปฏิรูป
     คือ การบริหารโดยกระจายอำนาจทางการศึกษาไปยังสถานศึกษาโดยตรงให้มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบและความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากที่สุด หรือเรียกว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
(School Based Management)

ศาสตร์ทั้ง 5 ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ของปีเตอร์ เอ็ม. เซงเก (Peter M. Senge)


การบริหารแบบมีส่วนร่วม
            ♬ ผลดี
➧ สร้างสรรค์ให้มีการระดมกำลังจากบุคคลต่าง ๆ
➧ สร้างบรรยากาศและพัฒนาประชาธิปไตยในการทำงาน
➧ ช่วยให้ลดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงาน
➧ การบริหารแบบมีส่วนร่วม
➧ ผลงานที่เกิดขึ้น
➧ สร้างความสมดุลระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ
            ♬ ข้อจำกัด
➧ การแสดงความคิดเห็นเกิดข้อขัดแย้งกับฝ่ายบริหาร
➧ ก่อให้เกิดกลุ่มอิทธิพล
➧ ผู้บริหารกลัวสูญเสียอำนาจ
➧ การบริหารงานไม่สามารถใช้กับงานที่เร่งด่วนได้
➧ ใช้งบประมาณมาก
➧ ความคิดเห็นจากบุคคลภายนอกไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร
➧ การไม่เข้าใจหน้าที่มักจะทำให้เกิดการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  สามารนำหลักการในการบริหารไปบริหารสถานศึกษาให้มีคุณภาพ

ประเมินผล

   ไม่ได้เข้าเรียน

         



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น